เหรียญทองคำที่่ระลึก ผลิตเนื่องในวาระในหลวงครองราชย์ 50 ปี ผลิตด้วยเนื้อทองคำแท้ น้ำหนัก 20 กรัม
ประวัติเหรียญ
เหรียญที่ระลึกพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดาทองคำขัดเงา น้ำหนัก 20 กรัม เขาชีจรรย์ เนื่องในโอกาสในหลวงทรงครองราช์ ครบ 50 ปี ผลิตโดยกรมธนารักษ์
เหรียญพระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ อีกด้านพระบรมรูป ฯ กระทรวงการคลัง สร้างปี 2538 ฉลอง 50 ปี ครองราชย์ กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์บรมราชภูษิตภรณ์ชิดวงขอบเหรียญด้านล่างมีข้อความว่า "ที่ระลึกในการครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี" กลางเหรียญมีรูปพระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ ใต้พระพุทธรูปมีข้อความว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" "เขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม" "พ.ศ. 2538" ชิดวงขอบเหรียญด้านล่างมีเครื่องหมายโรงกษาปณ์
พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร สูง ๑๐๙ เมตร ฐานบัวสูง ๒๐ เมตร การจัดสร้าง พระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ด้วยระบบแสงเลเซอร์ เพื่อเป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินประจํา รัชกาล ที่ ๙ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙
วันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ รับการน้อมเกล้าถวายพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดาณหน้าผาเขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี
รัชกาลที่ 9 เหรียญที่ระลึกพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา (เขาชีจรรย์) เนื้อทองคำ พ.ศ.2538 ที่ระลึกในการครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี น้ำหนัก 20 กรัม เส้นผ่านศุนย์กลาง 3.0 ซม. จำนวนผลิต 5,000 เหรียญ ผลิตโดยกรมธนารักษ์ ประกอบพิธี พุทธมหามังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2538 สภาพสวยมาก พร้อมกล่องเดิม
ข้อมูลวัดเขาชีจรรย์
พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ .ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯมหาราชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ด้าน หน้ามีลานอเนกประสงค์ มีการจัดสวนต้นไมไว้ได้อย่างสวยงาม สถานที่มองไปเป็นที่ราบเชิงเขา และ เขาแกะสลักรูปพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ไว้ที่ผนังอย่างงดงามชัดเจน
ประวัติการสร้าง
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมีความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจาก ระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหินฟิล ไลต์, หินฉนวน,และหินเมต้าเชิร์ต
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่ สง่างามตามธรรมชาติ .แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คง ชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วย การสร้าง พระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธ รูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดยคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ..ได้กำหนดข้อยุติให้สร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระ พุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนาขนาด ความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตร.. รวมความสูงของ องค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระม หากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่อง สว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ